วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

งานครั้งที่ 3 ตัวอย่างการใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัต

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ระบบตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า และลดปริมาณงานของโอเปอเรเตอร์ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ระบบบาร์โค้ด BAR CODE กับธุรกิจ

บาร์โค้ด คือ สัญลักษณ์ เป็นรหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การใช้บาร์โค้ดเพื่อความรวดเร็วทันสมัยต่อเหตุการณ์ โดยการออกเลขหมายให้กับสินค้าแต่ละตัวจะช่วยให้การติดต่อกันระหว่างผู้ค้า (ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก)

ประโยชน์ของบาร์โค้ด ช่วยให้การขายปลีกทำได้เร็วขึ้น ในห้างสรรพสินค้าเมื่อนำบาร์โค้ดเข้าไปใช้ จะช่วยให้การคิดเงินและเก็บเงินของพนักงานเร็วขึ้น ประหยัด
เวลา ทำให้บริการลูกค้าได้รวดเร็ว นอกจากนี้จะเห็นว่าจำนวนสินค้าในห้างสรรพสินค้า นับแสนๆชิ้นจะไม่ต้องติดป้ายทุกชิ้น โดยเฉพาะความสามารถในการอ่านบาร์โค้ด ณ จุดชำระเงินของ การขายปลีกส่งผลให้การชำระเงินกระทำได้เร็วขึ้น ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น จากการกดตัวเลขราคาสินค้าของพนักงานเก็บเงินลดงานที่จะต้องทำตั้งแต่ 23-48% ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นของสินค้าที่จำหน่าย ณ จุดชำระเงิน เพิ่มพื้นที่การขายและลด จำนวนพนักงานเก็บเงิน รวมถึงการข้อมูลที่สำคัญทั้งยอดขาย ประเภทสินค้าที่ขาย ตลอดจนยอดสินค้าคงเหลือในสต๊อกโดยผ่าน การควบคุมสินค้าคงคลังสามารถทำได้ง่าย

ในปัจจุบันได้นิยมนำระบบ บาร์โค้ด มาใช้ในเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ในการชำระเงินเป็นค่าสินค้าและบริการต่างๆ เช่น การชำระค่าบัตรเครดิต ชำระค่างวดสินค้าต่างๆ ค่าบริการ อาทิโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยที่ผู้ประกอบการจะเตรียมแบบฟอร์มการชำระเงินไว้ให้ลูกค้า เพื่อที่ลูกค้าสามารถ ถือแบบฟอร์มดังกล่าวไปชำระที่ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีอยู่ทั่วไป


นอกจากนี้ระบบ บาร์โค้ด ยังมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในธุรกิจที่มีการจำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลทางด้านลูกค้า และตัวสินค้าค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจการให้เช่า DVD โดยเจ้าของธุรกิจจะมีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ และใช้ระบบ บาร์โค้ด ติดไว้ที่แผ่น DVD ของทางร้าน เมื่อมีการเช่าก็ใช้เครื่องอ่านข้อมูลยิงอ่านค่าเป็นการบันทึกข้อมูลการเช่าทั้งหมด เช่น ชื่อลูกค้า ชื่อเรื่อง วันที่เช่า ฯลฯ

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี Barcode ในธุรกิจ












วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ครั้งที่ 2 เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ


ระบบบริหารอาคารอัจฉริยะ

ระบบอาคารอัตโนมัติ เป็นระบบการสั่งการและจัดการระบบต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง, ระบบปรับอากาศ , ระบบลิฟต์ , ระบบแจ้งเหตุสัญญาณ และควบคุมเพลิงไหม้ , ระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการทำงานร่วมกับระบบอื่นๆภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะแสดงค่าสถานะ การทำงานของระบบต่างๆผ่านทาง Graphic Interface ช่วยให้ Operator ตรวจสอบได้ง่าย



นอกจากนี้ระบบบริหารอาคารยังรวมถึงความสามารถในการโปรแกรมการทำงานของอุปกรณ์ให้ทำงานแบบอัตโนมัติ ตามภาวะหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ได้ด้วยทำให้ง่ายต่อการจัดการ และควบคุมระบบภายในอาคาร ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด เหมาะสำหรับอาคารที่มีระบบการทำงานหลายๆระบบ
การออกแบบระบบขึ้นอยู่กับขนาดและงบประมาณซึ่ง GSI สามารถรองรับได้ทุกระบบ และทุกขนาดอาคาร





เทคโนโลยีของอาคารอัจฉริยะ มีดังนี้


7.2.1 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
7.2.2 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)
7.2.3 ระบบอาคารอัตโนมัติ (Building Automation)
7.2.3.1 ระบบควบคุมอาคาร
7.2.3.2 ระบบรักษาความปลอดภัย
7.2.3.3 การจัดสภาพแวดล้อมในอาคาร
7.2.3.4 ระบบโครงสร้างอาคาร

ระบบของอาคารอัจฉริยะ แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับ 0 คืออาคารธุรกิจที่มีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ
ระดับ 1 จัดเป็นอาคารอัจฉริยะระดับเล็กที่สุดโดยมีระบบ ควบคุมอาคารอัตโนมัติ
ระดับ 2 เป็นอาคารอัจฉริยะระดับกลาง
ระดับ 3 เป็นอาคารอัจฉริยะระดับสูงสุด

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หลักเกณฑ์การตัดสินที่จะนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ

ข้อควรพิจารณาในการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ในสำนักงานมีดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
2. การออกแบบระบบและอุปกรณ์อัตโนมัติ
3. การจัดหาอุปกรณ์และระบบอัตโนมัติ
4. การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาติดตั้งในสำนักงาน
5. การประเมินผลและบำรุงรักษาระบบ
การนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ ต้องพิจารณาความพร้อมในประเด็นต่อไปนี้
1) จะต้องทราบความต้องการที่แท้จริงขององค์การ
2) การวิเคราะห์ความต้องการของบุคลากร
3) ผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนในการดำเนินการทุกๆ ด้าน
4) ควรแบ่งระยะเวลาในการดำเนินงานออกเป็นช่วงๆ
5) การออกแบบระบบและอุปกรณ์อัตโนมัติที่ต้องการ
6) การจัดหาอุปกรณ์
7) การจัดเตรียมสถานที่ติดตั้ง และการจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบปฏิบัติงาน
8) การประเมินผล และการบำรุงรักษาระบบ